อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000
ISO 9000 หรือ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ เป็นมาตรฐานสำหรับระบบการบริหารงานขององค์กร ที่มุ่งเน้นด้านคุณภาพที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้การยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลาย มาตรฐานนี้กำหนดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) โดยมีคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 176 (ISO/TC 176:Quality Management and Quality Assurance) เป็นผู้จัดทำใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 และต่อมา มีการแก้ไขมาตรฐาน 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 1994 และปี 2000
สำหรับประเทศไทยได้นำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ประกาศใช้เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในชื่อ “ อนุกรมมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. ISO 9000” โดยมีเนื้อหาเหมือนกันทุกประการกับอนุกรมมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพของ ISO
นับแต่มีการประกาศมาตรฐาน ISO 9000 องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อจัดทำระบบบริหารของตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน และให้ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอก โดยระบบบริหารงานคุณภาพขององค์กรจะสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า เห็นว่าองค์กรมีระบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ด้วยระบบคุณภาพที่ตกลงไว้ ซึ่งองค์กรใดก็ตาม หากสามารถผลิตสินค้าหรือให้บริการ ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และมีความมุ่งมั่น ที่จะทำให้มีคุณภาพเหนือความคาดหวังของลูกค้าได้แล้วนั้น องค์กรนั้นย่อมประสบความสำเร็จในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและมีผลกำไรสูงสุดได้
ความหมายของ ISO 9000
ISO 9000 คือมาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารงานคุณภาพอันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และเป็นระบบบริหารประกันคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ และประเทศต่าง ๆ
ISO 9000 จัดทำฉบับแรกในปี ค.ศ. 1987 (สำหรับการปรับปรุงจะกระทำทุก 5 ปี ถ้าทำได้) ได้มีการปรับปรุงครั้งแรกแล้วคือ ฉบับปี ค.ศ. 1994 และได้มีการปรับปรุงอีกเป็นครั้ง ที่ 2 ในปี ค.ศ. 2000 เลข “9000” เป็นเลขสหัสของมาตราฐานชุดนี้ คือ นับตั้งแต่ ค.ศ.1947 (ปีที่จัดตั้ง ISO ) หน่วยงาน ISO ได้จัดทำมาตราฐานต่าง ๆไว้มากมายจนถึงปี ค.ศ. 1987 (ปีที่จัดทำมาตรฐานชุดนี้) ได้จัดทำมาถึงเลข 9000 พอดี จึงนำเอาเลข 9000 มาเป็นรหัสตามมาตราฐานชุดนี้ เรียกว่า “ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000”
วัตถุประสงค์ที่ต้องจัดทำมาตรฐาน ISO 9001: 2000
- ช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ได้รับ
- เกิดระบบบริหารงานเป็นลายลักษณ์อักษรและเกิดประสิทธิผล
- สามาตถควบคุมกระบวนการดำเนินธุรกิจได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ
- สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารว่าสามารถบรรลุตามความต้องการของลูกค้าได้
- เกิดการปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบบริหารงานคุณภาพโดยส่วนรวม
- ช่วยลดความสูญเสียจากการดำเนินงานที่ไม่มีคุณภารพ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO 9001: 2000
1. ประโยชน์ต่อพนักงาน
- มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบบริหารงานคุณภาพและเกิดความพอใจในการปฎิบัติงาน
- มีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
- การปฏิบัติงานมีระเบียบ และมีขอบเขตงานที่ชัดเจน
- พัฒนาการทำงานเป็นทีม หรือเป็นกลุ่ม
2. ประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัท
- พัฒนาการจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิต ตลอดจนการให้บริการให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
- ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อได้ และได้รับการยอมรับทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
- ขจัดปัญหาข้อโต้แย้งและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
- ภาพลักษณ์ขององค์กรดี เป็นที่ยอมรับว่าเป็นคงค์กรที่มีระบบบริหารได้มาตรฐานระดับโลก
- ช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานซึ่งเกิดจากการทำงานที่มีระบบมีประสิทธิภาพ
3. ประโยชน์ต่อผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค
- ช่วยให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และหรือการบริการ
- มีความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซ้ำ
- ง่ายต่อการค้นหารายชื่อขององค์กรที่ได้รับรองคุณภาพ มอก. / ISO 9000 เพราะหน่วยรับรอง จะจัดทำรายชื่อผู้ที่ได้รับรองการเผยแพร่เป็นปัจจุบัน
- ได้รับการคุ้มครองทั้นในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการใช้งานโดยหน่วยรับรองในฐานะผู้ให้การรับรองจะเป็นผู้ตรวจสอบ ประเมิน และติดตามผลของโรงงานที่ได้รับรองระบบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
สรุป การนำระบบมาใช้จะช่วยให้สามารถพัฒนาบุคคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กร สามารถลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิต ตลอดจนความสูญเสียต่าง ๆ อันเกิดจากการผลิต ช่วยสร้างจิดสำนึกในการทำงานให้กับพนักงาน สร้างการทำงานที่มีระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถคววบคุมและตรวจสอบได้ง่ายขั้นและที่สำคัญคือสามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร นับเป็นประกาศเกียรติคุณอีกทางหนึ่งด้วย
อนุกรมมาตราฐาน ISO 9001
ISO 9001: 2005 Quality Management System
- Fundamentals and Vocabulary
- ระบบบริหารคุณภาพ : ข้อกำหนด
ISO 9001: 2000 Quality Management System
- Requiment
- ระบบบริหารคุณภาพ : ข้อกำหนด
ISO 9004 : 2000 Quality Management System
- Guidance for performance Improvement
- ระบบบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสำหรับปรับปรุงสมรรถนะ
ในอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ประกอบไปด้วย มาตรฐานที่เป็นข้อกำหนด(ISO 9001) มาตรฐานอ้างอิง (ISO 9000) มาตรฐานที่เป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงสมรรถนะ (ISO 9004)
มาตรฐานที่เป็นข้อกำหนด (Confornance Standard) จะประกอบไปด้วยข้อกำหนดของมาตรฐาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจให้ใบรับรองมาตรฐาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจให้ใบรับรองมาตรฐาน และ / หรือใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเอง
เอกสารที่เป็นแนวทางแนะนำ (Guideance Documents) เป็นเอกสารที่ประกอบไปด้วยข้อมูลแนวทาง คำแนะนำในการจัดทำระบบการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งไม่ใช่ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001 เป็นหัวใจหรือเป็นสาระสำคัญเพียงมาตรฐานเดียวที่ใช้ในการตรวจสอบเพื่อรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ หรือเป็นมาตรฐานข้อกำหนด
มาตรฐานสนับสนุนระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 19011
- เป็นแนวทางในการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม(Guidelines on Quality and Environment Auditing)
- เป็นการรวมกันระหว่าง ISO 10011 Series (ISO 10011-1,10011-2 , 10011-3) และ ISO 14010 Series (ISO 14010 ,14011,14012 )
ISO 14010 แนวทางการตรวจประเมิน : หลักกการ
ISO 14011 แนวทางการตรวจประเมิน : ขั้นตอนการตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14012 แนวทางการตรวจประเมิน : เกณฑ์คุณสมบัติของผู้ตรวจแระเมอน
ISO 10011-1 แนวทางการตรวจประเมินระบบคุณภาพ ส่วนที่ 1: การตรวจประเมิน
ISO 10011-2 แนวทางการตรวจประเมินระบบคุณภาพ ส่วนที่ 2: เกณฑ์คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
ISO 10011-3 แนวทางการตรวจประเมินระบบคุณภาพ ส่วนที่ 3: การจัดการโปรแกรมการตรวจ
โครงสร้างของมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
- แนวคิดจะเน้นการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
- การมองและคิดอย่างเป็นกระบวนการ (Process Approach)
- โครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการจะถูกทำให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องวงจรการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง (Plan –Do – Check - Act)
- ใช้หลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการเป็นเครื่องมือที่ทำให้การบริหารงานระบบคุณภาพประสบความสำเร็จ
Plan : วางแผน
DO : ปฏิบัติ
Check : ตรวจสอบ
Act : แก้ไข ปรับปรุง ป้องกัน
โครงสร้าง ISO 9001 : 2000
4. ระบบบริหารงานคุณภาพ
4.1 ข้อกำหนดทั่วไป
4.2 ข้อกำหนดด้านเอกสาร
4.2.1 ทั่วไป
4.2.2 คู่มือคุณภาพ
4.2.3 การควบคุมเอกสาร
4.2.4 การควบคุมบันทึก
5. ความรับผิดชอบด้านการบริหาร
5.1 ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร
5.2 การให้ความสำคัญแก่ลูกค้า
5.3 นโยบายคุณภาพ
5.4 การวางแผน
5.4.1 วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
5.4.2 การวางแผนระบบบริหารงานคุณภาพ
5.5 ความรับผิดชอบอำนาจหน้าที่และการสื่อสาร
5.5.1 ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
5.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
5.6.1 ทั่วไป
5.6.2 ข้อมูลในการทบทวน
5.6.3 ผลจากการทบทวน
6. การจัดหาทรัพยากร
6.1 การจัดหาทรัพยากร
6.2 ทรัพยากรบุคคล
6.2.1 ทั่วไป
6.2.2 ความรู้ความสามารถ จิตสำนึก และการฝึกอบรม
6.3 โครงสร้างพื้นฐาน
6.4 สภาพแวดล้อมในการทำงาน
7. การจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ / บริการ
7.1 การวางแผนการจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ / บริการ
7.2 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
7.2.1 การกำหนดข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
7.2.2 การทบทวนข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
7.2.3 การสื่อสารกับลูกค้า
7.3 การออกแบบและการพัฒนา
7.3.1 การวางแผนการออกแบบและการพัฒนา
7.3.2 ข้อมูลจากการออกแบบและการพัฒนา
7.3.3 ผลจากการออกแบบและการพัฒนา
7.3.4 การทบทวนการออกแบบและการพัฒนา
7.3.5 การทวนสอบออกแบบและการพัฒนา
7.3.6 การรับรอบการออกแบบและการพัฒนา
7.3.7 การควบคุมการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบและการพัฒนา
7.4 การจัดซื้อ
7.4.1 กระบวนการจัดซื้อ
7.4.2 ข้อมูลในการจัดซื้อ
7.4.3 การทวนสอบผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อ
7.5 การผลิตและการบริการ
7.5.1 การควบคุมการผลิตและการบริการ
7.5.2 การรับรองกระบวนการผลิตและการบริการ
7.5.3 การชี้บ่งและการสอบกลับ
7.5.4 ทรัพสินของลูกค้า
7.5.5 การรักษาผลิตภัณฑ์
7.6 การควบคุมเครื่องมือเฝ้าระวังและการตรวจวัด
8.การวัดการวิเคราะห์และการปรับปรุง
8.1 ทั่วไป
8.2 การเฝ้าระวังและการวัด
8.2.1 ความพึงพอใจของลูกค้า
8.2.2 การตรวจติดตามภายใน
8.2.3 การเฝ้าระวังและการวัดกระบวนการ
8.2.4 การเฝ้าระวังและการวัดผลิตภัณฑ์
8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามกำหนด
8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
8.5 การปรับปรุง
8.5.1 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
8.5.2 การปฏิบัติการแก้ไข
8.5.3 การปฏิบัติการป้องกัน |
|